2 บุคคลที่เกี่ยวของในขั้นตอนการเตรียมงานสร้างภาพยนตร์
1.
ผู้อำนวยการผลิต (Producer)
ผู้อำนวยการผลิตเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการผลิตภาพยนตร์ทั้งหมด
นับตั้งแต่การวางแผน การถ่ายทำ หลังการถ่ายทำ
เพื่อให้การผลิตภาพยนตร์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสมบูรณ์ที่สุด
2.
ฝ่ายกฎหมาย (Legal Department)
ฝ่ายกฎหมายทำหน้าที่ในการทำสัญญาต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งได้แก่การทำสัญญาเช่าลิขสิทธ์
การเช่าเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การทำประกันภัย ฯลฯ
3. ผู้เขียนบทภาพยนตร์ (Script Writer)
ผู้เขียนบทภาพยนตร์
ทำหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์ตามที่ได้รับมอบหมายจนแล้วเสร็จ
เมื่อเขียนบทเสร็จแล้วภาระหน้าที่ต่อไปก็คือการแก้ไขบท
เมื่อแก้ไขบทจนเป็นที่พอใจของผู้ว่าจ้างแล้วภาระหน้าที่ของผู้เขียนบทก็หมดไป
4. ผู้กำกับภาพยนตร์ (Film Director)
ผู้กำกับภาพยนตร์
มีหน้าที่ในการทำความเข้าใจบทภาพยนตร์ เลือกทีมงาน เลือกนักแสดง
สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ และเป็นผู้ที่ควบคุมงานผลิตภาพยนตร์ทั้งหมดภายใต้การดูแล
ของผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์
เป็นเอก รัตนเรือง ผู้กำกับภาพยนตร์ในประเทศไทย |
5. ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ (Assistant Film Director)
ผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์
โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นกองถ่ายภาพยนตร์ทีมใหญ่ๆ จะมีผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ 2-3 คน
ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน
ผู้กำกับภาพและผู้ช่วยกล้อง |
6. ผู้กำกับภาพ (Director of Photography)
ผู้กำกับภาพจะประสานงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ในการวางแผนการจัดแสงการออกแบบแสงและการวางมุมกล้องเพื่อการสิ่อความหมายด้วยภาพต่างๆ
กองถ่ายหนังใหญ่ผู้กำกับภาพนั้นส่วนใหญ่มักจะเป็นช่างกล้องด้วย
7. ช่างกล้อง (Camera Operator)
ช่างกล้องจะประสานงานกับผู้กำกับและผู้กำกับภาพในการถ่ายทำภาพยนตร์โดยการกำหนดการวางมุมกล้อง
ขนาดภาพ
การสื่อความหมายด้วยภาพซึ่งจะวางแผนล่วงหน้าในขั้นตอนเตรียมงานสร้างก่อนที่จะถ่ายจริง
8. ผู้กำกับศิลป์ (Art Director)
ผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ในการไปหาสถานที่
ที่ถ่ายทำ ร่วมกับผู้ทำหน้าที่จัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์
ผู้ช่วยกำกับ ธุรกิจกองถ่าย ฯลฯ
การออกแบบสร้างฉากตามยุคสมัยบรรยากาศตามเรื่องราวในบทภาพยนตร์
9. ผู้ช่วยกำกับศิลป์ (Asst. Art Director)
ผู้ช่วยผู้กำกับศิลป์ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้กำกับศิลป์ในการออกแบบฉากที่ได้รับมอบหมายจากผู้กำกับศิลป์
10. ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉาก (Properties Master)
ฝ่ายจัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากทำหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ประกอบฉากต่างๆเช่น
จัดหา ตู้ โต๊ะ นาฬิกา ผ้าม่าน ฯลฯ ตามการออกแบบของฝ่ายศิลป์
11. ฝ่ายสร้างฉาก
ฝ่ายสร้างฉากจะทำหน้าที่สร้างฉากตามที่ฝ่ายศิลป์ออกแบบ
ภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์
12. ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board Visualizer)
ผู้เขียนสตอรี่บอร์ด
จะทำหน้าที่แปลงบทภาพยนตร์ให้เป็นภาพเขียน โดยกำหนด ขนาดภาพ มุมกล้อง
การจัดองค์ประกอบภาพ ฯลฯ เพื่อให้ง่ายสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์
โดยทั่วไปแล้วการเขียนสตอรี่บอร์ดนั้นจะเขียนเฉพาะฉากที่ถ่ายทำยากๆเท่านั้น เช่น
ฉาก aCtion
ต่างๆซึ่งทีมงานที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้กำกับภาพยนตร์ ช่างกล้อง ผู้กำกับศิลป์ ฯลฯ
พอเห็นภาพจากสตอรี่บอร์ดแล้วก็สามารถจะออกแบบทำงานตามหน้าที่ของตนได้ทันที
13.
ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
(costume
Designer)
ผู้ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทำหน้าที่ออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
เครื่องประดับต่างๆ ของตัวละคร โดยคำนึงถึงยุคสมัย บุคลิกของตัวละคร
โดยก่อนที่จะออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายนั้น
ผู้ออกแบบนอกจะอ่านจากบทภาพยนตร์อย่างละเอียดแล้ว จะต้องเข้าร่วมประชุมกับผู้กำกับภาพยนตร์
ผู้กำกับศิลป์
เพื่อทราบแนวคิดและกำหนดแนวทางของการออกแบบโทรและอารมณ์ของภาพยนตร์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
14.
ผู้จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่ง
(WARDROBE)
ผู้จัดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
ทำหน้าที่จัดคิวเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของนักแสดงให้เป็นไปตามตารางการถ่ายทำภาพยนตร์
ตลอดจนดูแลเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่ผู้กำกับภาพยนตร์ต้องการ
15.
ผู้จัดการจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์
(Location
Manager)
บุคลากรตำแหน่งนี้เพิ่งมีในกองถ่ายภาพยนตร์ไทยในระยะเวลาที่ไม่นานมานี้
เพราะก่อนหน้านี้ผู้กำกับ ผู้ช่วยกำกับ และผู้กำกับศิลป์ จะช่วยกันหาสถานที่ถ่ายทำ
แต่เพราะความไม่สะดวก
เพื่อให้การจัดหาสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น
จึงกำหนดให้มีตำแหน่งนี้ขึ้นมา
16.
ผู้คัดเลือกนักแสดง (casting)
ผู้คัดเลือกนักแสดง
ทำหน้าที่คัดเลือกนักแสดงตามบุคลิกของตัวละครที่กำหนดไว้ในบทภาพยนตร์
ซึ่งการคัดเลือกนักแสดงนี้ผู้คัดเลือกนักแสดงจะต้องทำงานร่วมกับผู้อำนวยการผลิต
ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้ช่วยกำกับภาพยนตร์ เป็นต้น
17.
ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง (acting
coach)
ผู้ฝึกซ้อมนักแสดง
จะทำหน้าที่หลังจากที่คัดเลือกนักแสดงแล้ว บางกองถ่ายจะกำหนดให้มีการฝึกซ้อมนักแสดงก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์
2-3 เดือน เพื่อให้นักแสดงบางคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางการแสดงได้พัฒนา
ตนเอง
สามารถที่จะแสดงภาพยนตร์ในขั้นตอนการถ่ายทำได้อย่างราบรื่น
สำหรับนักแสดงที่มีประสบการณ์แล้วก็จะต้องมีการฝึกซ้อมการแสดงตามบทภาพยนตร์ เช่นเดียวกัน
18.
ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์
ธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน
ขอใช้ ขอเช่าสถานที่ถ่ายทำ ภาพยนตร์ การติดต่อนักแสดง
การทำงบประมาณค่าใช้จ่ายรายวัน
การจ่ายเงินแก่นักแสดงทีมงานตลอดจนทำบัญชีการใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อนำเสนอบริษัท
ซาวไม่ต้องมีเนอะ สงสัยทำหนังเงียบไม่อัดเสียง เหอะ
ตอบลบเตรียมงานสร้างไม่ต้องมีซาวครับ ซาวจะมาในขั้นตอนการสร้างเเละ หลังการสร้าง
ลบ5555 ใช่ๆ ลืมทีมเสียง ไปอีกคน .....
ตอบลบทีมเสียง แสง แต่งหน้า ทำผม เทคนิค(เอฟเฟค) เพลงประกอบ อาหาร+น้ำ ทีมขนส่งอุปกรณ์ ก็ลืม ซะงั้น
ตอบลบคนเขียนเขียนถูกละนะครับ มันหัวข้อ "ขั้นตอนการเตรียมงาน" ไม่ใช่ขั้นตอนการผลิตครับ ต้องใช้ทีมเสียงทำไมเอ่ย?
ตอบลบใช่ค่ะ เห็นด้วยค่ะ มันคือขั้นตอนการเตรียมงานค่ะ บางหน้าที่จะมีบทบาทตอนช่วงการผลิตเพียงอย่างเดียว คนเขียนเขาไม่ได้ผิดนะคะ
ตอบลบ